5 วิธีแก้คัดจมูกในทารกอย่างปลอดภัย
เรื่องสุขภาพความเจ็บป่วยของลูกน้อย เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่จำเป็นต้องรู้ ในบางเรื่องอาจจะดูเป็นเรื่องเล็กๆ ของเรา แต่อาจเป็นเรื่องใหญ่มากๆ สำหรับลูกน้อยก็ได้ เช่นเมื่อมีอาการเป็นหวัดคัดจมูก หรือมีน้ำมูกมากๆ ในรูจมูก ผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ สามารถออกแรงสั่งน้ำมูกออกมาได้ แต่ในเด็กทารก ไม่สามารถทำอย่างนั้นได้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ ที่จะต้องช่วยเหลือลูกให้มีอาการดีขึ้นอย่างถูกวิธี และปลอดภัย
จะรู้ได้อย่างไรเมื่อลูกมีอาการคัดจมูก
เมื่อลูกไม่สามารถสื่อสารด้วยการพูดได้ ในขณะที่ลูกคัดจมูก ดังนั้นเราจึงต้องคอยเอาใจใส่ในการสังเกตุอาการของลูกน้อย โดยพฤติกรรมที่บ่งบอกว่าลูกน้อยกำลังคัดจมูก ที่เรามาสามารถสังเกตุได้เองง่ายๆ เบื้องต้น คือ
- สังเกตุจากเสียงลมหายใจของลูกว่ามีเสียงดังครืดคราดหรือไม่
- ลูกเริ่มหายใจทางปาก เนื่องจากไม่สามารถหายใจทางจมูกได้
- ลูกน้อยจะดูดนมได้น้อยลง เนื่องจากหายใจไม่ทัน
- มีอาการร้องไห้งอแง เพราะหายใจไม่สะดวก
เมื่อทราบถึงวิธีการสังเกตุอาการของลูกน้อยแล้ว ต่อไป Umbili Thailand จะบอกถึงเทคนิคในการแก้ปัญหาคัดจมูกในลูกน้อย ที่สามารถทำเองได้ที่บ้าน
5 วิธีแก้คัดจมูกในทารก ที่สามารถทำเองได้ที่บ้าน
- ใช้ไม้ปั่นหูขนาดเล็กจุ่มน้ำเกลือ แล้วค่อยๆ เช็ดทำความสะอาดโพรงจมูกลูกน้อยอย่างเบามือ วิธีนี้อาจจะต้องมีการหลอกล่อลูกน้อยซักนิด เนื่องจากหากลูกดิ้น อาจทำให้ได้รับการบาดเจ็บ บริเวณโพรงจมูกได้
- ใช้อุปกรณ์ดูดน้ำมูก โดยในอดีตเราอาจจะเห็นที่ดูดน้ำมูกเป็นเหมือนจุกปั้มธรรมดา แต่ในปัจจุบันมีเครื่องดูดน้ำมูกอัตโนมัติ ซึ่งสามารถดูดน้ำมูกได้ดีกว่าแบบจุกปั้ม แต่ก็ต้องแลกมาด้วย เสียงขณะเครื่องทำงาน อาจจะทำให้ลุกน้อยกลัวและดิ้นได้ แนะนำให้คุณแม่เลือกซื้อเครื่องดูดน้ำมุกอัตโนมัติ จากแบรนด์ที่เชื่อถือได้ และควรตรวจสอบเสียงขณะเครื่องทำงานก่อน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น
- พยายามควบคุมอุณหภูมิรอบๆ ตัวลูกให้มีความเสถียร และหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนสถานที่บ่อยๆ เนื่องจากจะทำให้ร่างกายของทารก ไม่สามารถปรับตัวตามสภาพอากาศได้ และจะยิ่งทำให้อาการคัดจมูกนั้นแย่ลง สำหรับคุณพ่อ คุณแม่ที่เมื่อลูกงอแงแล้วจะชอบอุ้มเดินทันที ในข้อนี้ต้องระวัง เพราะหลายๆครั้ง แค่เราอุ้มลูกออกจากห้องนอน เดินไปห้องนั่งเล่น เพียงเท่านี้อุณหภูมิก็ต่างกัน เกินกว่าที่เด็กทารกจะปรับตัวได้แล้ว
- พยายามป้อนน้ำให้ลูกบ่อยๆ เพราะจะช่วยให้น้ำมูกไม่จับตัวเหนียวหรือปิดกั้นโพรงจมูก ใช้เครื่องเพิ่มความชื้นหรือเครื่องทำไอระเหย เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นภายในห้อง ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นบิดให้หมาดวางไว้บนใบหน้า ซึ่งอาจช่วยเปิดโพรงจมูกที่แน่น และอาจทำให้หายใจสะดวกยิ่งขึ้น
- ใช้ฉุนฉุน หอมแดงเซรั่ม เพื่อบรรเทาอาการคัดจมูก เป็นทางเลือกที่สามารถใช้ได้ทุกวัน โดยไม่ต้องรอให้ลูกมีอาการคัดจมูก ใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด และทุกวัยในครอบครัว
- หยดลงปลอกหมอน ผ้าอ้อมวางใกล้ที่นอน
- หยดใส่เสื้อผ้า
- หยดใส่น้ำอุ่นอาบน้ำ
- หยดใส่น้ำอุ่น1 แก้ววางไว้ในห้องช่วยปรับอากาศ
- หยดสัมผัสผิวได้กับวัย 6 เดือนขึ้นไป
- หยดลงผ้าเช็ดหน้าวางไว้ในรถยนต์
Umbili Thailand ยินดีให้คำปรึกษาคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ทุกท่าน เรายังมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับเด็กทารกที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อนอีกมากมาย สามารถอ่านต่อได้ในบทความของเรา
5 วิธีแก้คัดจมูกในทารกอย่างปลอดภัย
เรื่องสุขภาพความเจ็บป่วยของลูกน้อย เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่จำเป็นต้องรู้ ในบางเรื่องอาจจะดูเป็นเรื่องเล็กๆ ของเรา แต่อาจเป็นเรื่องใหญ่มากๆ สำหรับลูกน้อยก็ได้ เช่นเมื่อมีอาการเป็นหวัดคัดจมูก หรือมีน้ำมูกมากๆ ในรูจมูก ผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ สามารถออกแรงสั่งน้ำมูกออกมาได้ แต่ในเด็กทารก ไม่สามารถทำอย่างนั้นได้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ ที่จะต้องช่วยเหลือลูกให้มีอาการดีขึ้นอย่างถูกวิธี และปลอดภัย
จะรู้ได้อย่างไรเมื่อลูกมีอาการคัดจมูก
เมื่อลูกไม่สามารถสื่อสารด้วยการพูดได้ ในขณะที่ลูกคัดจมูก ดังนั้นเราจึงต้องคอยเอาใจใส่ในการสังเกตุอาการของลูกน้อย โดยพฤติกรรมที่บ่งบอกว่าลูกน้อยกำลังคัดจมูก ที่เรามาสามารถสังเกตุได้เองง่ายๆ เบื้องต้น คือ
- สังเกตุจากเสียงลมหายใจของลูกว่ามีเสียงดังครืดคราดหรือไม่
- ลูกเริ่มหายใจทางปาก เนื่องจากไม่สามารถหายใจทางจมูกได้
- ลูกน้อยจะดูดนมได้น้อยลง เนื่องจากหายใจไม่ทัน
- มีอาการร้องไห้งอแง เพราะหายใจไม่สะดวก
เมื่อทราบถึงวิธีการสังเกตุอาการของลูกน้อยแล้ว ต่อไป Umbili Thailand จะบอกถึงเทคนิคในการแก้ปัญหาคัดจมูกในลูกน้อย ที่สามารถทำเองได้ที่บ้าน
5 วิธีแก้คัดจมูกในทารก ที่สามารถทำเองได้ที่บ้าน
- ใช้ไม้ปั่นหูขนาดเล็กจุ่มน้ำเกลือ แล้วค่อยๆ เช็ดทำความสะอาดโพรงจมูกลูกน้อยอย่างเบามือ วิธีนี้อาจจะต้องมีการหลอกล่อลูกน้อยซักนิด เนื่องจากหากลูกดิ้น อาจทำให้ได้รับการบาดเจ็บ บริเวณโพรงจมูกได้
- ใช้อุปกรณ์ดูดน้ำมูก โดยในอดีตเราอาจจะเห็นที่ดูดน้ำมูกเป็นเหมือนจุกปั้มธรรมดา แต่ในปัจจุบันมีเครื่องดูดน้ำมูกอัตโนมัติ ซึ่งสามารถดูดน้ำมูกได้ดีกว่าแบบจุกปั้ม แต่ก็ต้องแลกมาด้วย เสียงขณะเครื่องทำงาน อาจจะทำให้ลุกน้อยกลัวและดิ้นได้ แนะนำให้คุณแม่เลือกซื้อเครื่องดูดน้ำมุกอัตโนมัติ จากแบรนด์ที่เชื่อถือได้ และควรตรวจสอบเสียงขณะเครื่องทำงานก่อน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น
- พยายามควบคุมอุณหภูมิรอบๆ ตัวลูกให้มีความเสถียร และหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนสถานที่บ่อยๆ เนื่องจากจะทำให้ร่างกายของทารก ไม่สามารถปรับตัวตามสภาพอากาศได้ และจะยิ่งทำให้อาการคัดจมูกนั้นแย่ลง สำหรับคุณพ่อ คุณแม่ที่เมื่อลูกงอแงแล้วจะชอบอุ้มเดินทันที ในข้อนี้ต้องระวัง เพราะหลายๆครั้ง แค่เราอุ้มลูกออกจากห้องนอน เดินไปห้องนั่งเล่น เพียงเท่านี้อุณหภูมิก็ต่างกัน เกินกว่าที่เด็กทารกจะปรับตัวได้แล้ว
- พยายามป้อนน้ำให้ลูกบ่อยๆ เพราะจะช่วยให้น้ำมูกไม่จับตัวเหนียวหรือปิดกั้นโพรงจมูก ใช้เครื่องเพิ่มความชื้นหรือเครื่องทำไอระเหย เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นภายในห้อง ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นบิดให้หมาดวางไว้บนใบหน้า ซึ่งอาจช่วยเปิดโพรงจมูกที่แน่น และอาจทำให้หายใจสะดวกยิ่งขึ้น
- ใช้ฉุนฉุน หอมแดงเซรั่ม เพื่อบรรเทาอาการคัดจมูก เป็นทางเลือกที่สามารถใช้ได้ทุกวัน โดยไม่ต้องรอให้ลูกมีอาการคัดจมูก ใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด และทุกวัยในครอบครัว
- หยดลงปลอกหมอน ผ้าอ้อมวางใกล้ที่นอน
- หยดใส่เสื้อผ้า
- หยดใส่น้ำอุ่นอาบน้ำ
- หยดใส่น้ำอุ่น1 แก้ววางไว้ในห้องช่วยปรับอากาศ
- หยดสัมผัสผิวได้กับวัย 6 เดือนขึ้นไป
- หยดลงผ้าเช็ดหน้าวางไว้ในรถยนต์
Umbili Thailand ยินดีให้คำปรึกษาคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ทุกท่าน เรายังมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับเด็กทารกที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อนอีกมากมาย สามารถอ่านต่อได้ในบทความของเรา